ประเภทแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

 

ประเภทแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

 1.แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานที่ได้รับการยอมรับ หรือเป็นที่ยกย่องของสังคม จัดได้ว่าเป็นบุคคลต้นแบบ ตัวอย่าง เช่น 


พระไพศาล วิสาโล พระภิกษุแห่งสันติวิธี ผู้มุ่งมั่นที่จะเผยแผ่ธรรมะแก่พุทธศาสนิกชนผ่านสื่อช่องทางหลายๆรูปแบบ พร้อมกับช่วยเหลือผู้คนมากมาย อีกทั้งการอนุรักษ์ป่าไม้ที่ท่านมองว่า พระสงฆ์ไม่ควรละเลยหน้าที่นี้ เพราะป่าเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธศาสนาตามพระพุทธประวัติ ด้วยภาระหน้าที่นี้ ทำให้คนรู้จักพระไพศาล วิสาโล อีกนามหนึ่งว่า "พระเอ็นจีโอ"





ร้อยเอกมานพ พันธ์สะโม
ชายหนุ่มที่เคยเสียใจกับการจับได้ "ใบแดง" แต่ตอนนี้เป็นนายทหารฝ่ายข่าวกรองหน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ 16 จ.ยะลา เขต 9 ที่ภาคภูมิใจกับ "ใบแดง" ที่เขาจับฉลากได้ในวันนั้น และกลายเป็น "ใบแดงแห่งโชคชะตา" ที่พลิกผันให้เขาเป็นรั้วของชาติอย่างเต็มภาคภูมิ
แม้วันนี้เขาเสียขาทั้งสองข้าง จากเหตุระเบิดในพื้นที่จังหวัดยะลา และต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล แต่ร้อยเอกมานพ ยังคงคิดถึงการจับปืนลงพื้นที่ เพื่อดูแลปกป้องชาวบ้าน เขาจึงเร่งฟิตซ้อมร่างกาย เพื่อกลับไปหาลูกน้องและชาวบ้านที่กำลังเฝ้ารอเขาอยู่ แม้ในใจลึก ๆ ของเขา ยังคงวิตกกังวลว่า จะมีโอกาสได้ทำดังใจหวังหรือไม่

 2.แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ หรือสิ่งที่มนุษย์ไม่ได้ประดิษฐ์ขึ้น ตัวอย่างเช่น


ป่าหินงาม
อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ทำการอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ซึ่งเรียงรายไปด้วยหินก้อนน้อย ใหญ่ รูปร่างแปลก ๆ มากมายในพื้นที่กว่า 10 ไร่ เป็นลานหินซึ่งเกิดจากการกัดเซาะดิน  และเนื้อหินทรายมานานนับล้านปี


อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอเมือง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอขลุง และอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เทือกเขาสูงสลับซับซ้อนเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ คือ น้ำตกพลิ้วที่สวยงาม มีน้ำตกตลอดปี เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป






3.แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร

ตัวอย่างเช่น


 นิตยสาร National Geographic 
สารคดีที่มีเนื้อหาสาระทั่วไปที่ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย


 





ลอยกระทง
ประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งการลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 12 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา






4.แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่

ปราสาทหินพนมรุ้ง
ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่




พิพิธภัณฑ์เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
เป็นสถานที่ที่รวบรวมและจัดแสดงประวัติ วีรกรรมและโบราณวัตถุ ที่เกี่ยวข้องกับท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เพื่อให้เป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทยสำหรับเยาวชนและชุมชนได้ศึกษา ภายในแบ่งออกเป็นเรือนไทยไม้สักทอง 3 หลัง ได้แก่ เรือนท่านเจ้าพระยาฯ เรือนรัชดาบดินทร และเรือนศิลปนิทัศน์


5.แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

Blogger
เป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่จะช่วยให้คุณมีพื้นที่สำหรับเขียนเรื่องราวต่างๆ ที่คุณต้องการในลักษณะของ Webblog บริการเหล่านี้คุณสามารถใช้งานได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับคนที่อยากมีเว็บไซต์ส่วนตัว แต่ไม่อยากมีค่าใช้จ่าย blogger สามารถช่วยคุณได้ หากคุณต้องการใช้ blogger เพียงแค่สมัคร Gmail ก็สามารถสร้าง blog ได้อย่างมากมาย นอกจากนี้การสร้าง blog ด้วย blogger นั้นเชื่อมโยงพื้นที่เก็บรูปภาพเข้ากับ picasa ซึ่งเป็นบริการด้านภาพถ่าย ทำให้คุณมีพื้นที่เขียน blog และพื้นที่เก็บรูปภาพที่สัมพันธ์กัน




Youtube
เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอระหว่างผู้ใช้ได้ฟรี ซึ่งยูทูบมีนโนบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่
มีภาพโป๊เปลือยและคลิปที่มีลิขสิทธิ์ นอกเสียจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อัปโหลดเอง











ที่มา
http://hilight.kapook.com/view/54645
https://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง
http://th.wikipedia.org/wiki/พิพิธภัณฑ์เจ้าพระยาบดินทรเดชา_(สิงห์_สิงหเสนี)
http://www.learners.in.th/blogs/posts/29247
http://www.kukrajeaw.com/
http://www.oknation.net/blog/akeyannawa/2009/05/20/entry-1


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น