ตัวอย่าง แหล่งการเรียนรู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบ

    จากแหล่งการเรียนรู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบ ให้นิสิตค้นคว้าจากเอกสาร หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และตอบคำถามต่อไปนี้
1.จากแหล่งการเรียนรู้ต้นแบบให้แบ่งประเภทของแหล่งการเรียนรู้ดังกล่าวว่าจัดอยู่ในประเภทใด
    - แหล่งการเรียนรู้ประเภทสถานที่
2.จากแหล่งการเรียนรู้ตัวอย่าง ให้นิสิตประเมินแหล่งการเรียนรู้ในประเด็นดังนี้
    2.1 อะไร คือ องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้นั้น ๆ  สถานที่ตั้ง/ความเป็นมา/ ส่วนในการนำเสนอ/ภาพประกอบ
ชื่อแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต้นแบบ พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ “คุ้มเจ้าหลวง”
สถานที่ตั้ง  จวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่
"คุ้มเจ้าหลวง" เป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกบ้านของเจ้าผู้ครองเมืองแพร่องค์สุดท้าย (เจ้าพิริยเทพวงศ์อุดรฯ หรือพระยาพิริยวิไชย)

              คุ้มเจ้าหลวง สร้างขึ้นก่อนสมัยเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ประมาณ 100 ปี ประมาณ 2435 หลังจากเจ้าหลวงเมืองแพร่ คือ เจ้าพิริยเทพวงศ์ ได้ลี้ภัยไปอยู่เมืองหลวงพระบางแล้ว คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ได้กลายเป็นที่ตั้งของกองทหารม้าที่ทางกรุงเทพฯ ได้ส่งมารักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองแพร่อยู่ระยะหนึ่ง บริเวณที่ ตั้งของคุ้มเจ้าหลวงมีอาณาเขตครอบคลุมถึงที่ตั้งของห้องสมุดประชาชนจังหวัด แพร่ และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองแพร่ในปัจจุบันซึ่งบริเวณนี้มีศาลาหลังใหญ่ เป็นคอกม้าเก่าต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติการประถมศึกษาขึ้นบริเวณคอกม้าเก่าจึงเป็นที่ตั้ง ของโรงเรียนประจำจังหวัดชาย เรียกกันสมัยนั้นว่า “โรงเรียนคอกม้า” (ปัจจุบันคือ โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ และได้ย้ายไปอยู่บริเวณ ถนนยันตรกิจโกศล)  ต่อมา วันที่ 5 ธันวาคม 2547 จังหวัดแพร่ได้มอบคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่เป็นผู้ดูแล เพื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ “คุ้มเจ้าหลวง” ให้ประชาชนได้เข้าไปเยี่ยมชมและศึกษาประวัติและเรื่องราวในอดีตของจังหวัด แพร่ ซึ่งหลังจากที่ได้รับมอบแล้ว องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ได้ทำการปรับปรุงภายในพิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ “คุ้มเจ้าหลวง” และตกแต่สภาพภูมิทัศน์โดยรอบให้สวยงาม พร้อมทั้งได้จัดตั้งสำนักงานและมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วน จังหวัดแพร่ได้ดูแล
              คุ้มเจ้าหลวง มีรูปทรงอาคารเป็นแบบไทยผสมยุโรป หรือที่เรียกว่าแบบขนมปังขิง มีความหรูหรา สง่างามและโอ่โถงมาก เป็นฝีมือช่างชาวจีนและช่างพื้นบ้าน ใต้ถุนอาคารมีห้องสำหรับควบคุมข้าทาสของเจ้าหลวงฯ ที่กระทำผิด ทำให้มีเรื่องเล่าขานว่ามีวิญญาณสิงสถิตอยู่จวบจนปัจจุบัน บริเวณชั้น 2 ของคุ้มเป็นที่ประดิษฐ์ฐานของพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้สักการะบูชา
              พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ “คุ้มเจ้าหลวง” ถือว่าเป็นสถานที่ที่สำคัญแห่งประวัติศาสตร์   ของจังหวัดแพร่เคยเป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลปัจจุบันได้เสด็จประทับแรมระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม 2501 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี   ได้เสด็จประทับแรม เมื่อวันที่  2 มีนาคม  2536  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุเสด็จ ณ วันที่  4  ก.พ. 2548   พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาเสด็จ ณ วันที่ 21 มิ.ย. 2549
    2.2   ใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มผู้เรียนหลัก
        -  กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา
        - กลุ่มบุคคลทั่วไป และผู้ที่สนใจ
    2.3 วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
        2.3.1 รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนำเสนอ 
            -  จัดแสดงโดยมุ่งเน้นความเป็นดั้งเดิมให้ผู้เรียนหรือผู้สนใจได้ศึกษา ณ พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ “คุ้มเจ้าหลวง”
        2.3.2 วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน
            - ควรที่จะมีวิทยากรหรือผู้รู้มาให้ความรู้ในระหว่างเดินสำรวจศึกษาข้อมูล และการได้เห็นของจริง
        2.3.3 การเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย
            - การศึกษาในระบบ  สามารถเชื่อมโยงโดยการใช้เป็นสื่อรองโดยให้ผู้เรียนเดินทางมาทัศนศึกษาและเรียนรู้ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
            - การศึกษานอกระบบ สามารถเชื่อมโยงโดยการจัดโครงการให้ผู้เรียนเดินทางมาทัศนาศึกษา
            - การศึกษาตามอัธยาศัย สามารถเชื่อมโยงโดยการเปิดให้เข้าเยี่ยมชมสำหรับคนทุกเพศทุกวัยที่สนใจ
    2.4 กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน เรียนรู้เพื่ออะไร 
เพื่อความเข้าใจในประวัติความเป็นมาของคุ้มเจ้าหลวง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น