กิจกรรมที่ 13 แนวทางการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในอนาคต

1. ในการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในอนาคตมี วัตถุประสงค์กี่ประการอะไรบ้าง
    ในการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในอนาคตมีวัตถุประสงค์อยู่ 4 ประการ
1. ตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้เพื่อทักษะแห่งอนาคตใหม่ในศตวรรษที่ 21
2. ตอบสนองความทันสมัยและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3. ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของหลักสูตร และสาระการเรียนรู้
4. ตอบสนองการเรียนรู้รายบุคคลบนโลกสังคมออนไลน์

2. ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออะไร 
    ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ ความสามารถ สมรรถนะที่ต้องมีในแต่ละบุคคลเพื่อให้สามารถปรับตัว และดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตในสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเทคโนโลยีในช่วงปี ค..2001-2100

3.บทบาทของผู้สอนยุคใหม่ในการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้เป็นอย่างไร

 1. ผู้คอยชี้แนะและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง
 2. เสนอแนวทางให้ค้นคว้าหาความรู้
 3. อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้ออกแบบและนำเสนอความรู้อย่างสร้างสรรค์
 4. สร้างแนวทางและชี้แนะให้ผู้เรียนวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ด้วยตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
 5. ประเมินจากสภาพจริงและผลงานจากการปฏิบัติ
 6. สวมบทบาทเป็นพี่เลี้ยง ที่คอยอำนวยความสะดวกมาให้
 7. กำหนดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและยืดหยุ่นในการเรียนรู้ตามขอบเขตที่กำหนดไว้
 8. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
 9. เสนอแนะให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแสวงหาความรู้

4. เทคนิควิธีการสอนแบบโครงงานในการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
    ประเภทของวิธีสอนแบบโครงงาน มี 3 ประเภท ได้แก่
     1.การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามวัตถุประสงค์ของเนื้อหาสาระการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น ๆ กล่าวคือ เป็นลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายโดยกิจกรรมต่าง ๆ ผู้สอนนั้นต้องวางแผนให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ทักษะการคิด ทักษะการสื่อสารและความร่วมมือ ทัศนคติ ค่านิยม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
    2.การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามความสนใจของผู้เรียนกล่าวคือเป็นลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนนั้น เป็นผู้วางแผน และระดมสมองเพื่อกำหนดขั้นตอนการทำโครงงานของผู้เรียนโดยที่ผู้เรียนนั้นทำตามความต้องการ และความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน หรือกลุ่ม โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือเป็นการบูรณาการทักษะ ความรู้ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
    3. การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานผสมผสานบูรณาการแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้อื่น ๆ และเทคโนโลยีการศึกษา กล่าวคือ เป็นลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอนได้นำหลักการแนวคิดทฤษฎีการศึกษา การเรียนรู้ และเทคโนโลยีการศึกษา เช่น การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการนำตนเอง การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดจิตตปัญญา การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานผ่านคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต เป็นต้น

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา



     ประเภทของสื่อและดทคโนโลยีการศึกษาในแหล่งทรััพยากรการเรียนรู้ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกรวยประสบการณ์ของเอดการ์เดล


วจนสัญลักษณ์              =     ข้อมูลข่าวสารให้ความรู้
ทัศนสัญลักษณ์             =     สัญลักษณ์ที่ติดตามผนังอาคาร
ภาพนื่ง                         =     การถ่ายรูป
ภาพยนตร์                    =     สื่อวิดีทัศน์สัตว์ทะเลดุร้าย
โทรทัศน์การศึกษา       =     สื่อบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ทะเล
นิทรรศการ                   =     บอร์ดให้ความรู้ต่างๆรอบอาคาร
การศึกษานอกสถานที่  =     เรียนรู้ที่สถานบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
การสาธิต                      =    การสาธิตการดำน้ำให้อาหารปลา
ประสบการณ์นาฏการ   =    การแสดงการดำน้ำ
ประสบการณ์จำลอง      =    แบบจำลองระบบนิเวศ
ประสบการณ์ตรง          =    ได้ชมปลาตัวจริงๆ

สัตว์ทะเลที่สมญานามว่าเป็นราชาแห่งท้องทะเล คือ ฉลาม



น้ำทะเลที่อยู่ในตู้ปลาที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา นำมาจาก แสมสาร สัตหีบ


ขั้นที่ 1 ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
มี 5 ส่วน
1.สัตว์ที่อาศัยเขตน้ำขึ้นน้ำลง


2. สัตว์ในแนวปะการัง




3.
การอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิต





4.
สัตว์มีชีวิตประเภทหอย



5.
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็ม


ขั้นที่ 2 ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
มี 5 ส่วน
1.
จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.
นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล
3.
นิทรรศการเรื่องราวของทะเลและระบบนิเวศในทะเล
4.
นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์
5.
ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอยและวิวัฒนาการของหอย





ใช้สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา โดยจัดกิจกรรมเกมส์มาช่วยในการจัดการเรียนรู้ โดยเขียนครอบคลุม 3 ประเด็นดังนี้

ขั้นนำ
     
นำภาพปลาจาพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเลมาให้นักเรียนได้ดู ให้เกิดความสนใจ ในสีสันและรูปร่างของปลาต่างๆ และถามว่าปลาเหล่านั้นชื่ออะไร ลักษณะต่างกันอย่างไร

ขั้นสอน
     
ให้นักเรียนได้รับชมปลาตัวจริงจากในพิพิธภันฑ์ พร้อมแจกใบงานให้นักเรียนได้ทำและหาความรู้ขณะเดินชม

ขั้นสรุป
   
ครูถามนักเรียนเกี่ยวกับความรู้ที่ได้มาในการชมพิพิธภัณฑ์ และปลูกฝังการอนุรักษณ์ธรรมชาติกับเด็กนักเรียน

ขอขอบคุณ วิทยากรผู้บรรยายให้ความรู้ คุณ มาโนช    โกมลวนิช

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ครกหินอ่างศิลา

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ครกหินอ่างศิลา

ชื่อภูมิปัญญา : ครกหินอ่างศิลา

ประเภทของภูมิปัญญา : ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อท้องถิ่น

สถานที่ของการเก็บข้อมูล : ตำบลอ่างศิลา ร้านรุ่งเรืองศิลาทิพย์ ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

องค์ความรู้ที่ได้
         การทำครกหินที่ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมานาน
มากกว่า 100 ปี หินแกรนิตที่พบแทรกตัวขึ้นมาสลับระหว่างหินชันซึ่งพบมากตามแหล่งที่เป็นเขา ติดกับ
ฝั่งทะเล และจากการที่มีหินแกรนิตซึ่งมีสีขาวนวลสีเหลืองอ่อนและมีความแข็งแกร่งจำนวนมาก
ที่ตำบลอ่างศิลาทำให้เกิดอาชีพการทำครกหินและกลายเป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้านชาวประมงอ่างศิลา
แต่ปัจจุบันหินนั้นก็มีน้อยลงจึงได้นำหินจากจังหวัดตากมาทำการแกะเป็นครกหิน 

      ป้าไผ่ เป็นคนจังหวัดเลย ได้ย้ายมาอยู่ที่ชลบุรีและทำอาชีพรับจ้างแกะครกหินมาเป็นเวลากว่า 30 ปี
ในหนึ่งวันป้าไผ่สามารถแกะครกหิน ได้ 2-3 อันต่อวัน เป็นงานที่ต้องใช้ความประณีตความละเอียดอ่อน
ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่สามารถถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่นนอกจากครก
แล้วยังแกะสลักงานรูปต่างได้อีกอย่างหลากหลาย อุปกรณ์การทำครกหินนั้น ได้แก่ ค้อนเหล็ก 
เหล็ก สกัด โดยใช้ทุบให้เป็นรูปทางไปที่ละนิด แล้วนำไปเข้าเครื่องขัดเพื่อให้ผิวเรียบเนียน 

ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้ทางภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำครกหินจากชาวบ้านอ่างศิลา 

1.สถานที่ให้ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ 

2.เป็นแหล่งสร้างความคิดที่เกิดอาชีพให้ให้สู่ความเป็นสากล 

3.เป็นแหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ตรง 

4.เป็นแหล่งมิตรภาพที่สร้างเสริมความสัมพันธ์ด้านชุมชน
กลุ่มสาระในการเรียนรู้
สามารถประยุกต์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆเช่น กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่องของหินประเภท
ของหินการกำเนิดชั้นหินและสาเหตุที่ทำให้อ่างศิลามีหินแกรนิตที่สามารถมาใช้ในการทำครกได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีและกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ในการแกะหิน
เป็นเครื่องใช้ และ ประติมากรรม และการสร้างอาชีพใหม่ให้แก่ชุมชน

กลุ่มเป้าหมายในการเรียนรู้
ชาวบ้านในตำบลอ่างศิลา   ที่สนใจแกะครกและรูปหินศิลาแบบต่างๆ

เขียนแผนการจัดการเรียนรู้
แหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นฐาน
แผนการจัดการเรียนรู้
สาระที่  4 การอาชีพ
เวลา  3  ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ อาชีพในท้องถิ่น
กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นประถมศึกษาปีที่  5
1. สาระสำคัญ การสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพต่างๆในชุมชนท้องถิ่น

2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น ง 4.1 ป.5/1 สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวกับอาชีพต่างๆในชุมชน

3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (เขียนให้ครอบคลุม KPA) 
    1.เข้าใจแนวทางอาชีพความรู้ในการประกอบอาชีพ 
    2.สามารถนำความรู้มาประกอบอาชีพในชุมชนท้องถิ่นได้ 
    3.สนใจอาชีพท้องถิ่นเห็นความสำคัญในการประกอบอาชีพของชุมชน
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

5. สาระการเรียนรู้ 
    1.การประกอบอาชีพต่างๆในชุมชน 
    2.ความรู้ในการประกอบอาชีพนั้น 
    3.แนวทางในงานอาชีพ 

6. แนวทางบูรณาการ ศิลปะ>ความจรรโลงใจ>สร้างงานศิลปะ>ความคิดสร้างสรรค์

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้ 

    ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน ครูนำยกตัวอย่างการทำครกหินในชุมชนท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นมาให้ดูเป็นตัวอย่างนักเรียนเกิดความสนใจ ครูให้ไปสำรวจภูมิปัญญาชาวบ้าน อาชีพในแหล่งท้องถิ่นการทำครกหิน และให้นักเรียนจดบันทึกวิธีการทำอุปกรณ์วัสดุในการทำ

    ขั้นที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้ ครูพานักเรียนไปทัศนศึกษาสถานที่จริงการทำครกหิน และได้ประสบการณ์ตรงจากผู้ทำให้นักเรียนไปหาข้อมูลโดยเชื่อมโยงให้สอดคล้องกับกลุ่มสาระ 

   ขั้นที่ 3 สรุป ครูใบนักเรียนส่งใบงานการสำรวจสถานที่ไปทัศนศึกษา และครูสรุปว่าภูมิปัญญาขาวบ้านสามารถเปลี่ยนเป็นอาชีพได้และสร้างรายได้ให้กับชุมชน

8. กิจกรรมเสนอแนะ 
    ครูให้นักเรียนไปค้นหาสำรวจแหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาอาชีพอื่นๆ ในท้องถิ่นแล้วนำมาเล่าให้เพื่อนในห้อง 

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 
ภาพครกหิน 
ศึกษานอกสถานที่ ณ ร้านรุ่งเรืองศิลาทิพย์ ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 
แบบสำรวจสถานที่

ขอขอบคุณ ร้านรุ่งเรืองศิลาทิพย์ ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี


แบบฝึกหัด หลังจากศึกษาเอกสารชุดที่ 3 และให้ตอบคำถามโดยบันทึกลงใน Weblog ภายในวันที่ 9 สิงหาคม 2556

1. ให้นิสิตบอกวิธีการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศจากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ  สนองตอบความต้องการของ ผู้สืบค้นหรือผู้เรียน  มีวิธีการที่สำคัญ  ดังต่อไปนี้
       1.ที่อยู่ของเว็บไซต์  เป็นวิธีที่เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการได้รวดเร็วที่สุด  หน่วยงานส่วนใหญ่นิยมเผยแพร่ผลงาน  และกิจกรรมผ่านทางเว็บไซต์  และเชื่อมโยงถึงองค์กรที่เกี่ยวข้อง www.thaigov.go.th  เป็นแหล่งรวมหน่วยราชการไทย ที่ผู้สืบค้นสามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้น ในการค้นข้อมูลสารสนเทศได้
       2.โปรแกรมค้นคืน  ในกรณีที่ไม่รู้ว่าข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการอยู่ในเว็บไซต์ใด  ผู้สืบค้นสามารถใช้บริการของเว็บไซต์ที่ให้บริการ  Search  Engine  เป็นกลไกเข้าถึง และ/หรือสืบค้นข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการ สำหรับเว็บไซต์ที่ให้บริการ   Search  Engine  มีอยู่มากมายหลายเว็บไซต์  เช่น
       www.google.co.th
       www.bing.com
       www.yahoo.com

2.URL คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกับ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต      URL คือ ที่อยู่ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต ถูกย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator เป็นเสมือนที่อยู่ (Address) เพื่อการระบุตำแหน่งของเอกสารข้อมูลต่างๆ สำหรับเข้าถึงที่ตั้งทรัพยากร ไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

3. หลักการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง
    1.วัตถุประสงค์ความต้องการในการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ 
    2.คุณภาพของเว็บไซต์ที่ใช้ในการเผยแพร่
    3.เนื้อหาที่ใช้ในการเผยแพร่

4. Virtual Field Trip คืออะไร
    การศึกษานอกสถานที่เสมือน (Virtual Field Trip) เป็นการนําทฤษฎีเรื่องความ เป็นจริงเสมือน (Virtual Reality) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่เข็ามาช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมทางการเรียน เพื่อแก้ปัญหาและข้อจํากัดของการศึกษานอกสถานที่ “ความเป็นจริงเสมือน” (Virtual Reality) เป็นการสร้างความรูสึกเสมือนว่าได้อยู่ในสถานที่นั้นจริง เคลื่อนที่ได้จริง ทํากิจกรรมจริง ได้ ยินเสียงจริงซึ่งเกิดจากการทํางานร่วมกันระหว่าง “ระบบคอมพิวเตอร์กับประสาทสัมผัสของ มนุษย์”

5. จงบอกความหมายของพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง พร้อมยกตัวอย่างด้วยการทำ Link เว็บพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงมาคนละ 1 เว็บไซต์
    พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง (Virtual museum) คือ รูปแบบของการจัดนิทรรศการของ พิพิธภัณฑ์ดั้งเดิม ที่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้สามารถดึงดูดความสนใจให้มีผู้เข้าชมและเรียนรู้ โดยอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต มาสร้างสื่อมัลติมีเดียหรือสื่อผสม ให้เป็นภาพ 3 มิติ อาจเป็นภาพนิ่งหรือเคลื่อนไหวก็ได้ ดูภาพได้ทุกทาง อาจมีเสียง คำบรรยายประกอบ หรือเป็นวีดิทัศน์สั้น ๆ ให้ผู้ชมรู้สึกเสมือน อยู่ในสถานที่จริง เป็นการประหยัดเวลา พลังงาน งบประมาณจากการที่ต้องไปชมสถานที่จริง และยังชดเชยได้ในเรื่องของการดูวัตถุด้วยการหมุนวัตถุ สามารถดูใกล้ ๆ ได้
http://www.nsm.or.th/nsm2008/vr_museum/

6. จงบอกความหมายของเทคโนโลยี AR มีประโยชน์อย่างไรในการเป็นแหล่งการทรัพยากรการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
      Augmented Reality หรือ AR เทคโนโลยีใหม่ ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) ซึ่งจะทำให้ภาพที่เห็นในจอภาพกลายเป็นวัตถุ 3 มิติลอยอยู่เหนือพื้นผิวจริง กำลังพลิกโฉมหน้าให้สื่อโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต ไปสู่ความตื่นเต้นเร้าใจแบบใหม่ ของการที่ภาพสินค้าลอยออกมานอกจอคอมพิวเตอร์ ว่ากันว่า นี่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าสื่อยุคใหม่ พอๆ กับเมื่อครั้งเกิดอินเทอร์เน็ตขึ้นในโลกก็ว่าได้ เป็นการเสริมให้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล


วิกรม กรมดิษฐ์
เกิดเมื่อวันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2496

ประวัติ
 วิกรม กรมดิษฐ์ นักธุรกิจและนักเขียนชาวไทย ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร (CEO) บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน เจ้าของโครงการนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่งในประเทศไทย ปัจจุบันได้ผันตัวเองมาเป็นนักเขียนและใช้ชีวิตอย่างสงบที่ดงกุฎาคาร เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
         บรรพบุรุษสืบเชื้อสายมาจากชาวจีนแคะหรือ ฮากก้า ซึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนท่าเรือเมื่อ 150 กว่าปีมาแล้ว นอกจากนี้เขายังมีเชื้อสายมอญจากยาย[4] เขาเป็นบุตรชายคนโตของตระกูล มีน้องมารดาเดียวกันและต่างมารดา 23 คน จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน มีความสนใจการค้าตั้งแต่ยังเล็ก โดยรับช่วงต่อกิจการร้านถั่วคั่วจากป้า ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนเมื่อเรียนจบปริญญาตรีกลับมาเปิดบริษัท วี แอนด์ เค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจนำเข้า - ส่งออก เมื่อปี พ.ศ. 2518 ต่อมาหันมาบุกเบิกธุรกิจด้านนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่งของประเทศไทยและ 2 แห่งในประเทศเวียดนาม ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนกว่า 7 แสนล้านบาท การจ้างงานกว่า 200,000 คน มีโรงงานกว่า 850 โรง
          ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และประธานมูลนิธิอมตะ ตลอดจนสนใจการเขียนหนังสือเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตให้ประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง ในปี 2549 ถึง 2551 ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บส์ให้ติดอันดับ 40 มหาเศรษฐีในเมืองไทย และในปี 2551 Foreign Direct Investment magazine (fDi) ในเครือของFinancial Times Group จากลอนดอน ได้มอบรางวัล fDi Personality of the Year 2008-Asiaแต่ยังคงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายในต่างจังหวัด

ผลงานเขียน
-ผมจะเป็นคนดี ภาค ไฟฝันวันเยาว์ (2551)โดยมี ประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง ตีพิมพ์มาแล้วกว่า 100,000 เล่ม และเป็นหนังสือที่ขายดีมากที่สุดเล่มหนึ่ง โดยได้เล่าประวัติของตัวเอง
-ผมจะเป็นคนดี ภาค ก่อร่างสร้างธุรกิจ (2552)โดยมี ประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง และได้ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ "ไฟอมตะ" ออกอากาศทางช่อง 9 อสมท.
-ผมจะเป็นคนดี ฉบับย่อจาก "ไฟฝันวันเยาว์ และ ก่อร่างสร้างธุรกิจ" (2551)โดยมี ประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง
-ละครไฟอมตะ เริ่มออกอากาศในวันที่ 10 เมษายน 2553 นำแสดงโดยนักแสดงมากคุณภาพ เช่น ชาคริต แย้มนาม ,นิรุตติ์ ศิริจรรยา และซอนย่า คูลลิ่ง ละครไฟอมตะได้รับรางวัลบทละครโทรทัศน์ดีเด่น ในงานประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 25 จัดขึ้นในวันเสาร์ 19 มีนาคม 2554 ที่หอประชุมใหญ่ กรมประชาสัมพันธ์
-กิน&อยู่แบบวิกรม (2553)โดยมี ประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง ตีพิมพ์มาแล้วกว่า 100,000 เล่ม
-บทละครไฟอมตะ (2553)โดยมี ศัลยา เป็นผู้เขียนบทละคร ประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง
-มองโลกแบบวิกรม (2550)โดยมี วิมล ไทรนิ่มนวล เป็นผู้เรียบเรียง
-มองซีอีโอโลก (2551)โดยมี วิมล ไทรนิ่มนวล เป็นผู้เรียบเรียง โดยได้เล่าประวัติของซีอีโอชื่อดังของโลก
-มองซีอีโอโลก ภาค 2 (2551)โดยมี วิมล ไทรนิ่มนวล เป็นผู้เรียบเรียง เปิดตัวหนังสือวันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2551 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และจะมีการเสวนาในหัวข้อ เยาวชนไทย ก้าวไกลสู่ซีอีโอโลก
-มองซีอีโอโลก ภาค 3 (2551)
-มองซีอีโอโลก ภาค 4 (2552)
-มองซีอีโอโลก ภาค 5 (2552)
-มองซีอีโอโลก ภาค 6 (2553)
-มองซีอีโอโลก ภาค 7 (2553)
-มองซีอีโอโลก ภาค 8 (2554)


ตัวอย่าง แหล่งการเรียนรู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบ

    จากแหล่งการเรียนรู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบ ให้นิสิตค้นคว้าจากเอกสาร หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และตอบคำถามต่อไปนี้
1.จากแหล่งการเรียนรู้ต้นแบบให้แบ่งประเภทของแหล่งการเรียนรู้ดังกล่าวว่าจัดอยู่ในประเภทใด
    - แหล่งการเรียนรู้ประเภทสถานที่
2.จากแหล่งการเรียนรู้ตัวอย่าง ให้นิสิตประเมินแหล่งการเรียนรู้ในประเด็นดังนี้
    2.1 อะไร คือ องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้นั้น ๆ  สถานที่ตั้ง/ความเป็นมา/ ส่วนในการนำเสนอ/ภาพประกอบ
ชื่อแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต้นแบบ พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ “คุ้มเจ้าหลวง”
สถานที่ตั้ง  จวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่
"คุ้มเจ้าหลวง" เป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกบ้านของเจ้าผู้ครองเมืองแพร่องค์สุดท้าย (เจ้าพิริยเทพวงศ์อุดรฯ หรือพระยาพิริยวิไชย)

              คุ้มเจ้าหลวง สร้างขึ้นก่อนสมัยเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ประมาณ 100 ปี ประมาณ 2435 หลังจากเจ้าหลวงเมืองแพร่ คือ เจ้าพิริยเทพวงศ์ ได้ลี้ภัยไปอยู่เมืองหลวงพระบางแล้ว คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ได้กลายเป็นที่ตั้งของกองทหารม้าที่ทางกรุงเทพฯ ได้ส่งมารักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองแพร่อยู่ระยะหนึ่ง บริเวณที่ ตั้งของคุ้มเจ้าหลวงมีอาณาเขตครอบคลุมถึงที่ตั้งของห้องสมุดประชาชนจังหวัด แพร่ และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองแพร่ในปัจจุบันซึ่งบริเวณนี้มีศาลาหลังใหญ่ เป็นคอกม้าเก่าต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติการประถมศึกษาขึ้นบริเวณคอกม้าเก่าจึงเป็นที่ตั้ง ของโรงเรียนประจำจังหวัดชาย เรียกกันสมัยนั้นว่า “โรงเรียนคอกม้า” (ปัจจุบันคือ โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ และได้ย้ายไปอยู่บริเวณ ถนนยันตรกิจโกศล)  ต่อมา วันที่ 5 ธันวาคม 2547 จังหวัดแพร่ได้มอบคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่เป็นผู้ดูแล เพื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ “คุ้มเจ้าหลวง” ให้ประชาชนได้เข้าไปเยี่ยมชมและศึกษาประวัติและเรื่องราวในอดีตของจังหวัด แพร่ ซึ่งหลังจากที่ได้รับมอบแล้ว องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ได้ทำการปรับปรุงภายในพิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ “คุ้มเจ้าหลวง” และตกแต่สภาพภูมิทัศน์โดยรอบให้สวยงาม พร้อมทั้งได้จัดตั้งสำนักงานและมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วน จังหวัดแพร่ได้ดูแล
              คุ้มเจ้าหลวง มีรูปทรงอาคารเป็นแบบไทยผสมยุโรป หรือที่เรียกว่าแบบขนมปังขิง มีความหรูหรา สง่างามและโอ่โถงมาก เป็นฝีมือช่างชาวจีนและช่างพื้นบ้าน ใต้ถุนอาคารมีห้องสำหรับควบคุมข้าทาสของเจ้าหลวงฯ ที่กระทำผิด ทำให้มีเรื่องเล่าขานว่ามีวิญญาณสิงสถิตอยู่จวบจนปัจจุบัน บริเวณชั้น 2 ของคุ้มเป็นที่ประดิษฐ์ฐานของพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้สักการะบูชา
              พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ “คุ้มเจ้าหลวง” ถือว่าเป็นสถานที่ที่สำคัญแห่งประวัติศาสตร์   ของจังหวัดแพร่เคยเป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลปัจจุบันได้เสด็จประทับแรมระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม 2501 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี   ได้เสด็จประทับแรม เมื่อวันที่  2 มีนาคม  2536  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุเสด็จ ณ วันที่  4  ก.พ. 2548   พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาเสด็จ ณ วันที่ 21 มิ.ย. 2549
    2.2   ใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มผู้เรียนหลัก
        -  กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา
        - กลุ่มบุคคลทั่วไป และผู้ที่สนใจ
    2.3 วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
        2.3.1 รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนำเสนอ 
            -  จัดแสดงโดยมุ่งเน้นความเป็นดั้งเดิมให้ผู้เรียนหรือผู้สนใจได้ศึกษา ณ พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ “คุ้มเจ้าหลวง”
        2.3.2 วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน
            - ควรที่จะมีวิทยากรหรือผู้รู้มาให้ความรู้ในระหว่างเดินสำรวจศึกษาข้อมูล และการได้เห็นของจริง
        2.3.3 การเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย
            - การศึกษาในระบบ  สามารถเชื่อมโยงโดยการใช้เป็นสื่อรองโดยให้ผู้เรียนเดินทางมาทัศนศึกษาและเรียนรู้ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
            - การศึกษานอกระบบ สามารถเชื่อมโยงโดยการจัดโครงการให้ผู้เรียนเดินทางมาทัศนาศึกษา
            - การศึกษาตามอัธยาศัย สามารถเชื่อมโยงโดยการเปิดให้เข้าเยี่ยมชมสำหรับคนทุกเพศทุกวัยที่สนใจ
    2.4 กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน เรียนรู้เพื่ออะไร 
เพื่อความเข้าใจในประวัติความเป็นมาของคุ้มเจ้าหลวง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน